การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
การส่งเสริมและพัฒนาครู
มีปัญหาหลายประการของการจัดการศึกษาของไทยที่เป็นสาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างขนาน
ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้
การพัฒนา และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา
ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้
การพัฒนา และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา
แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูให้เป็นครูที่ดีและประสบความสำเร็จในวิชาชีพครูอาจดำเนินการได้อย่างน้อย 3 ทางคือ
1. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพตนเองของครู เช่น การฝึกอบรมการปฏิบัติงาน การประชุมทางวิชาการ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน
เรียนรู้ร่วมกัน การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน
2. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยสถานศึกษา เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ
มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่ สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนการ
วิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร ส่งเสริมการเขียนตำรา สนับสนุนให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทั้งใน
และต่างประเทศ และอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยไม่ถือว่าเป็นการลา เหล่านี้ เป็นต้น
มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่ สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนการ
วิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร ส่งเสริมการเขียนตำรา สนับสนุนให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทั้งใน
และต่างประเทศ และอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยไม่ถือว่าเป็นการลา เหล่านี้ เป็นต้น
3. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยหน่วยงานกลาง อาจเป็นหน่วยงานต้นสังกัดการบริหารบุคคล เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาโดยองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพครูและการถือครองใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพครูอีกด้วย นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาโดยองค์กร ชมรม สมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรวมตัวกันเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อผลประโยชน์แห่งวิชาชีพครูของพวกตนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้สรุปว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพครูสู่มาตรฐานวิชาชีพควรเป็นการพัฒนาที่ครูได้ฝึกฝนตนเองในสภาวะของการปฏิบัติงานปกติ สร้างโอกาสให้ครูได้ทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการต่างๆหลากหลายครูจะแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ แตกต่างกันตามระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งสามารถวิเคราะห์การแสดงออกของครูใน 3 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 ระดับฝีมือของครู เป็นระดับคุณภาพในการดำเนินงานการจัดทำแผนการสอนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้
โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง 3 ระดับ คือ
โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง 3 ระดับ คือ
คุณภาพระดับต่ำ เป็นการปฏิบัติตามแบบตามตัวอย่างที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือปฏิบัติให้เห็นแล้วนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่น
คุณภาพระดับกลาง เป็นการปฏิบัติที่ครูพัฒนาขึ้นเองสอดคล้องกับผู้เรียนท้องถิ่นศักยภาพและความถนัดของครู
คุณภาพระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่มีความชำนาญแตกฉานจนสามารถเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ เป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ปรึกษาร่วมพัฒนาให้กับครูคนอื่นๆได้
มิติที่ 2 การเพิ่มบทบาทของผู้เรียน
เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากความสามารถขั้นต่ำไปสู่ความสามารถขั้นสูง จากผู้เรียนอธิบายด้วยตนเองสู่ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองสู่ผู้เรียนสร้างความรู้ได้เองเป็นการพัฒนาคุณภาพสูงขึ้นโดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูแสดงออก ครูจะต้องเป็นผู้นำทาง โดยการจัดขั้นตอนของกิจกรรมเป็นลำดับ นำไปสู่การคิดได้เอง และการสร้างความรู้ได้เอง
มิติที่ 3 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถจากความจำ สู่ ความคิด สู่ การกระทำ สู่ ค่านิยม และสู่การปฏิบัติเป็นนิสัยติดตัวด้วยค่านิยมที่พึงประสงค์จึงจะเป็นผลผลิตของครูมืออาชีพที่มีคุณภาพระดับสูง
ขอบข่ายสาระของการพัฒนาครูจึงกำหนดแนวทางพัฒนาครูโดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองของครู การแสดงออกของครูและผลที่เกิดกับนักเรียน
การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพครูมืออาชีพนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยตัวเองมาเป็นลำดับ โดยผู้บังคับบัญชาได้เสนอวิธีการพัฒนาตนเองบางประการเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ เช่น ฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ผู้ที่บริหารเวลาเก่งจะต้องยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน ได้แก่ มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ผัดวันประกันพรุ่งในการทำงานทุกประเภททั้งงานเล็กงานใหญ่ ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เป็นคนขยันขันแข็ง เป็นคนทำงานรวดเร็วลักษณะคนทำงานรวดเร็ว ฝึกตนให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ตนเป็นที่ต้องใจของผู้อื่น ทำตนให้รู้จักกาลเทศะ และทำให้ตนเองเป็นที่น่าเชื่อถือ
ที่มา:https://sites.google.com/site/orathaieducation/home/kar-sng-serim-sakyphaph-laea-smrrthphaph-khwam-pen-khru
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
ในปี พ.ศ.2533 คุรุสภาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูขึ้น ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ด้าน คือรอบรู้ สอนดี มีคุณธรรมจรรยาบรรณ มุ่งมั่นพัฒนา แต่เนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากแก่การปฏิบัติและการประเมินในปี พ.ศ.2537 คุรุสภาได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 ด้าน และต่อมา พ.ศ.2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้เป็น เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
2.ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
3.มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
4.พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5.พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
6.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
7.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
8.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
9.ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
10.ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
11.แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
อยากให้ ครู ทุกท่านสำรวจตัวเองและปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติของครูตามเกณฑ์มาตรฐานข้างต้น และถ้าครูมีมาตรฐานแล้ว ลูกศิษย์ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาตินั้น ก็จะเป็นอนาคตที่พึงปรารถนา เป็นอนาคตที่สามารถฝากความหวังของประเทศชาติไว้ได้อย่างแน่นอน
แหล่งที่มา บ้านเมือง ฉบับที่ 14952 [หน้าที่ 13 ] ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
ในปี พ.ศ.2533 คุรุสภาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูขึ้น ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ด้าน คือรอบรู้ สอนดี มีคุณธรรมจรรยาบรรณ มุ่งมั่นพัฒนา แต่เนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากแก่การปฏิบัติและการประเมินในปี พ.ศ.2537 คุรุสภาได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 ด้าน และต่อมา พ.ศ.2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้เป็น เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
2.ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
3.มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
4.พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5.พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
6.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
7.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
8.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
9.ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
10.ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
11.แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
อยากให้ ครู ทุกท่านสำรวจตัวเองและปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติของครูตามเกณฑ์มาตรฐานข้างต้น และถ้าครูมีมาตรฐานแล้ว ลูกศิษย์ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาตินั้น ก็จะเป็นอนาคตที่พึงปรารถนา เป็นอนาคตที่สามารถฝากความหวังของประเทศชาติไว้ได้อย่างแน่นอน
แหล่งที่มา บ้านเมือง ฉบับที่ 14952 [หน้าที่ 13 ] ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น