หน่วยการเรียนรู้ที่4

ลักษณะของครูที่ดี

            เอกลักษณ์ของครูที่ดี  

    บุคลิกภาพของครูที่ดี ประกอบด้วยบุคลิกภาพ 4 ด้าน คือ บุคลิกภาพทางกาย บุคลิกภาพทางอารมณ์ บุคลิกภาพทางสังคม และบุคลิกภาพทางสติปัญญา ดังต่อไปนี้

           1. บุคลิกภาพทางกาย ประกอบด้วย
                1.1 ด้านกายภาพ หมายถึง ครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพเป็นปกติ
และน่าศรัทธา น่านับถือ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการอยู่ร่วมกับ
ลูกศิษย์มากกว่าครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การผิดปกติในทางที่ไม่ดี ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย ได้แก่
                    1) รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม
                    2) การแต่งกายที่เหมาะสม คือ การแต่งกาย 
(รวมถึงแต่งหน้าและทรงผมด้วย) ที่สะอาด เรียบร้อย ดูดี น่านับถือ 
ถูกกาลเทศะ เรียกว่า Neat and Clean
                    3) กิริยามารยาท คือ มีกิริยามารยาที่เรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน
 นุ่มนวล
                    4) สวมใสเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่าง เพศ วัย และผิวพรรณ
                    5) มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สมบูรณ์
                    6) ร่างกายสะอาด ผิวพรรณสดใส ใบหน้าแจ่มใส
                    7) ยืน นั่ง เดิน ให้เรียบร้อยเหมาะสม
                1.2 ด้านวาจา หมายถึง การแสดงออกทางวาจา การพูดด้วยน้ำเสียง
ที่แฝงด้านเมตตา ปรารถนาดี นุ่มนวล การพูดด้วยลีลาที่เหมาะสม ไม่ช้าไม่เร็ว
จนเกินไป และรวมไปถึงการไม่พูดน้อยหรือเงียบขรึมจนเกินไป
 หรือการพูดมากจนน่ารำคาญ ได้แก่
                     1) การพูดด้วยถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน
                     2) การพูดที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
                     3) การพูดที่ถูกกาลเทศะ
                     4) การพูดที่คล่องแคล่ว ถูกอักขระและคำควบกล้ำ
     5) การพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน
     6) พูดเสียงดังฟังชัด
     7) พูดจามีสาระมีเหตุผล
1.3 ด้านการวางตัว ควรมีพฤติกรรมให้เหมาะสมกับฐานะ 
ตำแหน่งหน้าที่ คุณวุฒิและวัยวุฒิของตนโดยมีการแสดงออกอย่าง
สุภาพและจริงใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถผูกมัดน้ำใจของบุคคล
ที่อยู่ใกล้ชิดหรือบุคคลอื่นๆที่มีส่วนเข้ามารู้จักและสัมพันธ์
เกี่ยวข้องด้วย
1.4 ด้านอิริยาบถ ควรมีอิริยาบถในขณะสอน ขณะทำงาน 
ติดต่อสัมพันธ์กับผู้เรียนและผู้อื่นให้เหมาะสมเป็นสง่าราศี
 เป็นที่นิยมยกย่องหรือเกรงใจของคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นการนั่ง
 การยืน การเดิน การไหว้ การทำความเคารพควรมีความสำรวม เป็นต้น
            2. บุคลิกภาพด้านอารมณ์
                บุคลิกภาพทางอารมณ์ หมายถึง การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะ
สม มีอารมณ์มั่นคง เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นทางสีหน้า
 แววตา ท่าทาง และวาจาให้ผู้เรียนได้รับรู้ได้ ประกอบด้วย
                 1) การควบคุมอารมณ์ได้ดี ทั้งอารมณ์ดีใจ โกรธ เศร้า หรือหงุดหงิด
           2) ความสนใจผู้เรียน หมายถึง มีความกระตือรือร้นที่จะรับรู้หรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆรวมทั้งการแสวงหาประสบการณ์ที่กว้างขวางหลากหลาย มีความสนใจในตัวผู้เรียน บทเรียน และวิธีสอน มีความเข้าใจและสนใจปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน
                    3) การมีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งเครียดจริงจังจนเกินไป
                    4) มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน ยิ้มแย้ม และร่าเริงอยู่เสมอ
                    5) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
                    6) มีความรับผิดชอบต่องานสูง
                    7) มีความซื่อสัตย์ จริงใจ
                    8) มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา (พรหมวิหาร 4)
                    9) ตรงต่อเวลา
                    10) มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีงาม
                    11) มีความมั่นใจในตนเอง เป็นตัวของตัวเอง
                    12) มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง (อคติ)
                    13) มีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
                    14) ขยันหมั่นเพียร
                    15) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
                    16) หนักแน่น อดทนอดกลั้น และข่มใจตนเองได้
                    17) มีความกล้าแสดงออกที่เหมาะสม กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
                    18) มีความสำนึกในหน้าที่การงาน
            3. บุคลิกภาพด้านสังคม
                เป็นบุคลิกภาพที่แสดงออกให้ผู้อื่นพบเห็นได้ในสังคม
 การเข้าสู่สังคมจึงเป็นบทบาทอย่างหนึ่งของครู
                    1) มีความเป็นผู้นำ
                    2) ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ชุมชน และสังคม
                    3) ความมีระเบียบวินัย สำรวมระวังความประพฤติตนอยู่ในระเบียบแบบแผน (ประพฤติต่อเป็นแบบอย่างที่ดี)
                    4) สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
                    5) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
                    6) มีการวางตัวที่เหมาะสมในสังคม
                    7) มีความสัมพันธ์กับผู้เรียนและเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับ
บัญชาที่ดี
                    8) มีความเป็นกันเองกับผู้เรียน
                    9) การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกๆ คน
            4. บุคลิกภาพด้านสติปัญญา
                บุคลิกภาพด้านสติปัญญา หมายถึง การใช้สติปัญญาในการสอน การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
                    1) การมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี
                    2) ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม
                    3) มีการตัดสินใจที่ดี
                    4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                    5) มีความรู้รอบตัวดี
                    6) มีความจำดี
                    7) เป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ
                    8) มีความรู้ในรายวิชาที่สอนอย่างแท้จริง
                    9) มีความรู้ด้านวิจัย คอมพิวเตอร์ และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
                    10) มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน การวัดผลประเมินผล
                    11) รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัวและเรื่องราวในท้องถิ่น
                    12) มีสามารถถ่ายทอดความรู้ เช่น ประยุกต์ใช้เทคนิค
การสอนต่างๆ สามารถอบรมบ่มนิสัยผู้เรียนให้มีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย 
สุขนิสัยและอุปนิสัยที่ดีสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียนและก้าวทันเทคโนโลยี สามารถพัฒนาผู้เรียนให้คิดกว้าง คิดไกล และมีวิจารณญาณที่จะ
วิเคราะห์ข่าวสารต่างๆ ได้ดี เป็นต้น
                    13) รู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ คือ รู้หลักการอยู่ร่วมกัน
 รู้หน้าที่ รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้ความมั่งหมายของการกระทำอันใด
 รู้บทบาทภาวะหน้าที่ ความสามารถ หรือรู้ว่าตนควรทำอะไร รู้จักประมาณตน
 รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร ตรงต่อเวลา รู้จักท้องถิ่น ชุมชน ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และรู้จักความแตกต่างของบุคคล และยอมรับความคิดเห็น
                    14) แสวงหาคำแนะนำ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ
ที่ดีต่อผู้เรียน
                    15) ลงมือกระทำจนกว่าจะถูกต้อง
                    16) ตรวจสอบความก้าวหน้าของตนเองอยู่เสมอ
                    17) หมั่นไตร่ตรอง คิดพิจารณาตนเองอยู่เสมอ

แหล่งที่มา:www.mcupyo.com/.../3บุคลิกภาพของครูและลักษณะการสอนที่ดี%


ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี
   
        
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ครูอาวุโส ประจำปี พ.ศ.2522 เมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2523 มีข้อความตอนหนึ่ง ที่แสดงลักษณะของครูที่ดีไว้ดังนี้ค่ะ " ครูที่ดีนั้นจะต้องทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวัง ความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจมั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล"
แหล่งที่มา:www.gotoknow.org/posts/182845

ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา
         สำหรับลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง ครูหรือภาระหน้าที่ของครู การสอน และลักษณะของครูไว้หลายแห่งหลายหมวดด้วยกัน แต่ส่วนที่กล่าวถึงลักษณะของครูที่ดีนั้น คือคำสอนเรื่อง กัลยาณมิตรธรรม 7 ซึ่งครูมิมได้กล่าวเอาไว้แล้วในบันทึก นี่แหละครู ค่ะ ซึ่งมีอยู่ 7 ข้อด้วยกันค่ะ หากจะกล่าวถึงครูดีตามแนวคิดนักการศึกษาตะวันตก ลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักกาศึกษาตะวันตกนั้น เฮสซอง และวีคส์ (Hessong and Weeks 1987) ได้สรุปแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะครูที่ดีไว้ดังนี้ค่ะ
1. เป็นผู้มีความรอบรู้ (Being Knowledge able)
2. เป็นผู้มีอารมณ์ขัน (Being Humorous)
3. เป็นผู้มีความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Being Flexble)
4. เป็นผู้ที่มีความตั้งใจทำงานให้ถึงขีดสุด (Being Upbeat)
5. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ (Being Honest)
6. เป็นผู้มีความชัดเจน ( Being Clear and Concise)
7. เป็นคนเปิดเผย (Being Open)
8. เป็นผู้ที่มีความอดทน ( Being Patient)
9. เป็นแบบอย่างที่ดี ( Being a Role Model)
10. เป็นผู้สามารถประยุกต์ทฤษฏีไปปฏิบัติได้ (Being Able to Relate Theory to Practice)
11. เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Being Self Confident)
12.เป็นผู้มีความสามารถในศิลปะวิทยาการหลายๆ ด้าน (Being Diversified)
13. เป็นผู้แต่งกายเหมาะสมและมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี (Being Well Groomed and Having Personal Hygiene)
แหล่งที่มา:https://www.gotoknow.org/posts/182845

ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระราชดำรัส
        
พระราชดำรัสในที่นี้ หมายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.. 2523 มีข้อความที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูดีตอนหนึ่งว่า “... ครูที่แท้นั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี ต้องขยันหมั่นเพียรและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั่นและอดทน ต้องรักษาวินัยสำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..”
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตามที่ผู้เขียนได้อัญเชิญมาข้างต้นนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแล้ว สามารถเข้ากันได้กับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาทุกประการทั้งในหลักกัลยาณมิตตธรรมและหลักธรรมอื่นๆ ดังเช่น
หมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ตรงกับหลักธรรม “วิริยะ” หรือ “วิริยารัมภะ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ตรงกับหลักธรรม “จาคะ
หนักแน่น อดกลั้นอดทน ตรงกับหลักธรรม “ขันติ
รักษาวินัย...อยู่ในระเบียบแบบแผน ตรงกับหลักธรรม “วัตตา” หรือ “วินโย
ปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย ตรงกับหลักธรรม “สังวร
ตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ตรงกับหลักธรรม “สมาธิ
ซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ตรงกับหลักธรรม “สัจจะ
เมตตาหวังดี ตรงกับหลักธรรม “เมตตา
วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ตรงกับหลักธรรม “อุเบกขา
10 อบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ตรงกับหลักธรรม ปัญญา
แหล่งที่มา:https://www.gotoknow.org/posts/521302

คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วไป

            คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วๆไป หมายถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ได้จากความคิดเห็นของนักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนบุคลในอาชีพต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังนี้
- มีลักษณะท่าทางดี
- มีความประพฤติดี
- มีอัธยาศัยดี
- มีความยุติธรรม
- เข้ากับคนได้ทุกชนชั้น
- เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของศิษย์
- พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- มีความสามารถในการทำงาน
- มีความเป็นผู้นำ
- มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
- มีความสามารถในการสอน
- มีสุขภาพอนามัยที่ดี
- เป็นตัวของตัวเอง
- มีจริยธรรมสูง
- เข้มแข็งอดทน
- คล่องแคล่วว่องไว
- ยืดหยุ่นผ่อนปรน
- สติปัญญาดี
- มีวิจารณญาณ
- ไม่มัวเมาในอบายมุขทั้งปวง
แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/182845



ลักษณะของครูที่ดีจากผลงานการวิจัย

       คุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีจากผลการวิจัย
ฝ่ายโครงการของวิทยาลัยครูบ้านเจ้าพระยา ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่สังคมต้องการ โดยนักเรียน ครู
ผู้ปกครอง ในเขตกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้สรุปผล ดังนี้
1. ด้านความประพฤติควรมีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และสังคม
2. ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ ควรมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ
3. ด้านการสอนต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดี
4. ด้านการปกครองนักเรียน ควรฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม
5. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู ครูควรสร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม
6. ด้านบุคลิกภาพของครู ครูควรแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความ
เป็นผู้นำ
7. ด้านการทำงานนอกเวลา และงานอดิเรกของครู เห็นว่าครูควรทำได้ไม่กฎหมาย หรือขัดต่อ
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ผลงานการวิจัยของ เฉลียว บุรีภัคดี เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีโดยการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครอง
ครูอาจารย์ ผู้บริหาร พระ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 7,762 คน มี ดังนี้
ครูที่ไม่ชอบมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย มี ดังนี้
1.ขาดความรับผิดชอบ
2.การเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ขาดความยุติธรรม
4.เห็นแก่ตัว
5.ประจบสอพอ
ครูที่ชอบมากที่สุด มี ดังนี้
1.ตั้งใจสอนและสอนเข้าใจแจ่มแจ้ง
2.ความเข้าใจและเป็นกันเอง
3.ความรับผิดชอบ
4.มีความยุติธรรม
5.ความเมตตา
6.ร่าเริง แจ่มใส สุภาพ
7.มีวิธีสอนแปลก ๆ
8.มีอารมณ์ขัน
9.เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
ความบกพร่องของครู จากมากไปหาน้อย มี ดังนี้
ชาย
1.ความประพฤติไม่เรียบร้อย
2.มัวเมาในอบายมุข
3.การแต่งกายไม่สุภาพ
4.การพูดจาไม่สุภาพ
5.ไม่รับผิดชอบการงาน
หญิง
1.การแต่งกายไม่สุภาพ
2.ความเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ประพฤติไม่เรียบร้อย
4.ไม่รับผิดชอบการงาน
5.ชอบนินทา
6.จู่จี้ขี้บ่น
7.วางตัวไม่เหมาะสม
8.คุยมากเกินไป
หน้าที่ของครูที่จำเป็นมากที่สุด คือ
1.สอนและอบรม
2.การเตรียมการสอน
3.หน้าที่ธุรการ เช่น ทำบัญชีเรียกชื่อและสมุดประจำวันชั้น
4.การแนะแนว
5.การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
6.ดูแลอาคารสถานที่
7.ทำความเข้าใจเด็ก
ลักษณะของครูที่ดี เรียงตามลำดับ คือ
1.ความประพฤติเรียบร้อย
2.ความรู้ดี
3.บุคลิกการแต่งกายดี
4.สอนดี
5.ตรงเวลา
6.มีความยุติธรรม
7.หาความรู้อยู่เสมอ
8.ร่าเริง แจ่มใส
9.ซื่อสัตย์
10.เสียสละ
จำเนียร น้อยท่าช้าง ยังได้ทำการวิจัยเรื่องครูดีในทัศนะของเด็ก โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ในเขตการศึกษา 5 ทุกจังหวัด เป็นจำนวน 2,418 คน ชาย 1,203 หญิง 1,215 คน สรุปได้ดังนี้
เกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของครู
1.ครูจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้
2.อายุที่เหมาะสมของครูควรอยู่ในระหว่าง 31–40 ปี
3.สถานภาพสมรสของครูจะเป็นอย่างไรก็ได้
4.ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นครูที่มีวุฒิในระดับปริญญาตรี
5.ครูควรมีความสามารถในการสอน โดยสามารถสอนได้ทั่วไป และมีความสามารถพิเศษเฉพาะรายวิชา
6.ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์ ปรากฎว่านักเรียนต้องการเรียนกับครูที่จบวิทยาศาสตร์เป็น
วิชาเอกและจบวิชาครูมาด้วย
เกี่ยวกับบุคลิกภาพลักษณะของครู
1.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
2.ครูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ
3.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
4.ครูควรพูดเสียงดัง
5.มีอารมณ์เย็น
6.เป็นกันเองกับเด็กนักเรียนและมีอารมณ์ขันบ้าง
7.มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านจิตใจและก็ทางด้านร่างกาย
8.มีลักษณะเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้
เกี่ยวกับทางด้านวิชาการของครู
1.ควรศึกษาและเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอในทุกด้าน
2.ควรมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
3.เคยเรียนวิธีสอนและผ่านการฝึกสอนมาก่อน
4.ควรมีวิชาความรู้วิชาวัดผล
5.ควรมีความรู้ในวิชาจิตวิทยา
การสอนและการปกครองของครู
1.ชอบครูที่ใช้อุปกรณ์การสอนช่วยในการสอน
2.ไม่ชอบครูที่มีความชำนาญแต่ไม่เตรียมการสอน
3.ชอบครูที่ให้งานและตรวจงานเสร็จเสมอ
4.ต้องการให้ครูสอนซ่อมนอกเวลาเรียน
5.ต้องการให้ครูมีกิจกรรมประกอบการสอนในบางโอกาส
6.ต้องการให้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองบ้าง
7.ไม่ชอบครูที่เอาเวลาสอนไปทำงานอื่น
8.ชอบให้ครูยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ โดยเคร่งครัด ถึงจะมีการลงโทษก็ยินดี
9.การลงโทษไม่ต้องการให้ครูเฆี่ยนตี
10.นักเรียนต้องการเรียนดีถึงแม้ว่าความประพฤติจะด้อยไปบ้าง
ความประพฤติของครู
1.ไม่เห็นด้วยกับการที่ครูจะไปเที่ยวพักผ่อนในสถานเริงรมย์ต่าง ๆ
2.ไม่อยากให้ครูดื่มสุรา เล่นการพนัน ไม่ว่าจะเป็นที่สโมสรข้าราชการหรือสถาบันที่ทั่ว ๆ ไป
3.ครูควรประพฤติตัวดีกว่าข้าราชการอาชีพอื่น ๆ เช่น หมอ หมายความว่า ตำรวจ ทหาร และข้าราชการ
ปกครอง
4.ครูควรประพฤติตัวเรียบร้อย แต่ไม่ถึงกับจะเหมือนผ้าพับไว้
5.ครูควรรู้วัฒนธรรม แต่ไม่ต้องเคร่งครัดมากนัก
6.ครูควรเป็นกันเองกับเด็ก
มนุษย์สัมพันธ์ของครู
1.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน
2.ไม่เห็นด้วยที่ครูแสดงตัวเป็นกันเองกับเด็กโดยการพูดจาแบบนักเลง ๆ
3.ชอบครูที่มีความยุติธรรมและเป็นคนใจดี
4.ไม่ชอบที่ครูจะเข้ากับผู้ปกครองโดยวิธีการร่วมดื่มสุราหรือเล่นการพนัน
5.ครูควรร่วมมือพัฒนาชุมชน เพื่อจะเข้ากับชุมชนได้
6.ครูควรเชิญผู้ปกครองมาร่วมปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนด้วย
ครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี คือ ชุบพลเมืองให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นัก
ค้นคว้าเหตุผล นักปราชญ์ ฯลฯ เป็นต้น.
แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/372409

ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตฐานของคุรุสภา

1. รอบรู้
2. สอนดี
3. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ 
4. มุ่งมั่นพัฒนา

แหล่งที่มา:https://www.facebook.com/kruoffza/posts/437478743005188

ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์

คุณลักษณะของครูที่ดีที่พึงปรารถนา 3 ด้านคือ
1. มีความรู้ดี ซึ่งได้แก่ ความรู้ในวิชาการทั่วไป ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน ความรู้ในวิชาครู ความรู้ในหน้าที่และงานครูทุกประการ
2.มีทักษะในการสอนและการปฏิบัติงานครู เช่น อธิบายเก่ง สอนสนุก ใช้สื่อและอุปกรณ์เสมอ จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศได้น่าเรียน เร้าพฤติกรรม ตลอดจนชี้แนะแนวทางในการศึกษา จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
3.มีคุรุธรรมนิยม อันได้แก่ คุณธรรมของครู จริยธรรม และคตินิยมในความเป็นครู เช่น ภาคภูมิใจที่ได้เป็นครู มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู รักการสอน พอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของศิษย์ ช่วยพัฒนาคนและสังคม ตลอดจนมีวิญญาณแห่งความเป็นครู  เป็นต้น

แหล่งที่มา:http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=14872


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น