ความหมายของครู
ความหมายของครู
ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน
แหล่งอ้างอิง:
http://hilight.kapook.com/view/19311
ครู อาจารย์ และคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
ในสังคมปัจจุบันมีการใช้คำว่า ครูและอาจารย์ กันในแทบทุกวงการอาชีพ จนดูเหมือนว่าใครก็ตั้งตัวเป็นครูหรืออาจารย์กันได้โดยง่าย อันที่จริงความหมายของครูและอาจารย์ในลักษณะวิชาชีพหรือวิชาชีพชั้นสูง (Profession) นั้นมีความหมายกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าการใช้เรียกกันในวงการอาชีพต่างๆ มากนัก
ความหมายของครู
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 92-94) อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า
คำว่าครูในสมัยโบราณในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเจ้าของคำนี้ เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ แล้วก็นำไปเดินทางวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ หรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพ จึงมีน้อยมาก ครูนั้นมักจะไปทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของพระราชา หรืออิสระชนซึ่งมีอำนาจวาสนา มีหน้าที่การงานอันใหญ่หลวง
คำว่าครู มักแปลกันมาแต่เพียงว่าเป็นผู้ควรเคารพ หรือมีความหนัก ที่เป็นหนี้อยู่เหนือศีรษะ เป็นเจ้าหนี้อยู่บนเหนือศีรษะของทุกคน แต่เดี๋ยวนี้กลายมาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างหนึ่ง
จากคำอธิบายดังกล่าวนั้นครูในอดีตเป็นตำแหน่งที่สังคมยกย่อง เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ วิญญาณศิษย์ทั้งหลายยังปิดด้วยอวิชชา เป็น การช่วยให้ศิษย์ทำลายอวิชชาทั้งหลายเพื่อได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ มีชีวิตจิตใจที่สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง ในแง่ของความหมายนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 170) อธิบายว่า ครูคือผู้สั่งสอนศิษย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ในปัจจุบันคำว่าว่าครูจะค่อนข้างหมายถึงอาชีพประการหนึ่งในสังคมมากกว่าจะหมายถึงบุคคล
ครู มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ครุ (คะรุ) ซึ่งแปลว่าหนักแน่น และสันสกฤตว่า คุรุ (คุ-รุ) ซึ่งแปลว่า ผู้ชี้แสงสว่าง แต่โดยความหมายในภาษาไทยก็คือครูผู้สอนประสิทธิ์ประสาทความรู้ อบรมบ่มนิสัยศิษย์ให้เป็นคนดี ยกระดับวิญญาณความรู้ดีชั่วให้แยกแยะความดีความชั่ว และรู้จักการดำรงชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องมีคุณธรรม
ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน (เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่น คุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน
อนึ่ง คำว่า คุรุ นี้มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า คุรุ นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ
คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน
ครู คือผู้เป็นที่พึ่ง ในตำบลหมู่บ้านในชนบท เมื่อชาวบ้านมีปัญหาอะไร ก็มักจะไปหาครู ไปถาม ไปขอให้ ช่วยตัดสิน ว่าอะไรผิดอะไรถูก เพราะเขามีความมั่นใจว่า ครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ พร้อมด้วย ความเมตตากรุณา ยินดีที่จะช่วยเหลือแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นที่พึ่ง ซึ่งจะให้คำปรึกษาหารือ แก่เขาได้ นี่เป็นเกียรติของครูที่ควรแก่การภาคภูมิใจ
ครูคือผู้เปิดประตูคอก เจ้าประคุณท่านอาจารย์สวนโมกข์ท่านใช้คำพูดว่า ครูเป็นผู้เปิดประตูคอก ที่ขังสัตว์ ไว้ในความมืด ให้ได้ออกไปสู่แสงสว่าง หรือเป็นผู้เปิดประตูคุกแห่งอวิชชา ให้สัตว์ออกมา เสียจากความโง่เขลา
ครูคือผู้ฝึก นอกจากนั้นท่านยังเห็นว่า ครูคือผู้ฝึก เป็นดังสารถีผู้ฝึกสัตว์ให้เชื่อง เหมือนอย่างนายสารถี ผู้ขับรถม้าหรือเกวียน ครูจึงต้องเป็นผู้มี ความเมตตาปรานี ไม่ใช้อำนาจดึงดันเอาแต่ใจของตัว เพราะการฝึกโดยการฟาดฟันลงไปด้วยแส้ ด้วยไม้ ด้วยตะขอสับนั้น ก็แน่นอนที่สุดว่า ย่อมจะไม่ได้รับ ความรัก ความจงรักภักดีจากสัตว์ที่ตนฝึก มันยอมให้ก็เพราะกลัว สบโอกาสเมื่อใดก็ต่อต้าน
ครูคือผู้ให้แสงสว่าง ให้ความรู้แก่ศิษย์อย่างทั่วถึง ทั้งวิชาการทางโลก และวิชชาอันเป็นปัญญาด้านใน ครูจึงต้องศึกษา ฝึกฝน อบรมตนเองให้พร้อมทั้งวิชาและวิชชา วิชานั้นเรียนรู้จาก ตำรา ครูอาจารย์ และ ประสบการณ์ได้ แต่วิชชาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากการศึกษาด้านใน ด้วยการหมั่นมองดู ใคร่ครวญ ถึงสิ่งอันเป็นสัจธรรมกฎธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนควรรู้คือ "ประกอบเหตุอย่างใด ผลอย่างนั้น" ถ้าเห็นความจริงข้อนี้ เมื่อมีปัญหา เกิดขึ้นก็จะมีปัญญาพิจารณา รู้ว่าควรแก้ไขอย่างไร จึงจะเป็นการกระทำที่ถูกต้อง และเมื่อได้ประกอบเหตุปัจจัยในส่วนของเรา อย่างเต็มความสามารถ แล้วก็สบายใจ ภาคภูมิใจได้ ส่วนผล จะเป็นอย่างไรนั้น ต้องยอมรับว่ายังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอีกหากสามารถรักษาความเป็นปกติของจิตไว้ได้อย่างนี้ พอมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็จะไม่ไปเที่ยวโทษคนนั้น คนนี้ สิ่งโน้นสิ่งนี้ เกิดสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ครูคือผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่จะนำพาศิษย์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยการพัฒนาจิตให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีความคิด ความเห็นที่ถูกตรง อันจะนำไปสู่การคิด พูด และทำในสิ่งที่ถูกต้อง
คำพูดของท่านอาจารย์ สวนโมกข์ ท่านกล่าวว่า คนมีบุญคือคนที่เกิดในตระกูลที่มีสัมมาทิฏฐิ ในสายตาของคนทั่วไป คนมีบุญ คือคนมีหน้ามีตา มีทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ พร้อมมูลในเรื่องของวัตถุ แต่สิ่งเหล่านี้คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปไหม? เราก็คงเคยเห็น หลายครอบครัว หลายตระกูล ที่ดูเหมือนว่าทรัพย์สินที่มี กินใช้ไปเป็นร้อยปีก็ไม่หมด แต่แล้วก็ต้องสูญสิ้น ล้มละลายไป นั่นเพราะเหตุใด? ก็เพราะ ไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักรักษา ไม่รู้จักกำจัดสิ่งที่จะมาบ่อนทำลาย แต่ครอบครัว ที่มีสัมมาทิฏฐินั้น แม้บ้านช่อง อาจจะไม่โอ่โถงใหญ่โต พ่อแม่ไม่ได้มี อำนาจวาสนาอะไรมากมาย แต่เป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง เลี้ยงดูครอบครัว ให้ลูกได้มีการศึกษาเล่าเรียน ตามควรแก่ฐานะ อบรมสั่งสอน ให้ลูกเป็นคนดี ครอบครัวก็อยู่เป็นสุข
ฉะนั้น ความเป็นครูจึงเป็นของหนัก ครูที่แท้จริงจึงเป็นผู้ควรแก่การเคารพสักการะ ควรแก่การบูชา เป็น ปูชนียบุคคล ผู้เป็นที่พึ่ง และผู้นำ ทางจิตวิญญาณแก่สังคม
อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้คำจำกัดความไว้ในมาตราที่ 4 ว่า
ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ความหมายตามพระราชบัญญัตินั้น อาจจะตีความชัดเจนได้ดังนี้คือ ครูต้องเป็นบุคลากรทางวิชาชีพ นั่นคือ ไม่ใช่ใครๆ จะเดินเข้ามาเป็นครูก็ได้ง่ายๆ ดังแต่ก่อนที่ยังไม่มีพระราบัญญัติการศึกษาแห่งชาติบังคับใช้บุคคลากรวิชาชีพก็ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามความในมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติด้วย กล่าวคือต้องมีมาตรฐานด้านต่างๆ ตามที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องประพฤติปฏิบัติตามตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนดไว้
ครูต้องเป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐหรือของเอกชน ฉะนั้นผู้ที่ไม่ได้ทำหนาที่ทางด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษาก็จะไม่เรียกว่าครูอีกต่อไป สำหรับหน้าที่ทางด้านการเรียนการสอนก็หมายความว่าครูต้องเป็นผู้จุดประกายการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผูเรียน ครูต้องเป็นผู้แสวงหาสาระการเรียนตลอดจนกิจกรรมการเรียนต่างๆ เพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ครูไม่ใช่ผู้ยืนอยู่หน้าชั้นแบบเป็นองค์ความรู้แบบเบ็ดเสร็จในห้องเรียนอย่างในอดีต
ความหมายของอาจารย์
แต่เดิมคำว่าอาจารย์ เป็นคำที่ใช้เรียกกันในหมู่พระสงค์ในศาสนาพุทธ เป็นตำแหนงของผู้อาวุโสที่มีหน้าที่เฉพาะในการควบคุมดูแลหรือสั่งสอนพระที่บวชใหม่ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต 2538 : 203) อธิบายความหมายของคำว่าอาจารย์ดังนี้ อาจารย์ แปลว่า ผู้ประพฤติอันเกื้อกูลแก่ศิษย์ ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ ในวงการสงฆ์มีอาจารย์ 4 ตำแหล่งคือ บรรพชาจารย์ คือผู้ให้สิกขาบทในการบรรพชา อุปสัมปทาจารย์ คืออาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรม นิสสยาจารย์ คือ อาจารย์ผู้ที่ตนไปขอยอมตนเป็นศิษย์อยู่ในการปกครอง และอุเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ คือ อาจารย์ผู้สอนธรรม เป็นผู้ให้วิชาความรู้ เป็นที่ปรึกษาไต่ถามค้นคว้าก็ดี
ต่อมาคำว่าอาจารย์จึงแพร่เข้าสู่วงการศึกษาโดยใช้เรียกข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัยผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือผู้บรรยาย (Lecturer) วิชาการต่างๆ ให้แก่นิสิตหรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แล้วจึงแพร่ขยายการใช้ไปสู่มหาวิยาลัยและโรงเรียนในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เอง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้คำจำกัดความไว้ว่า
คณาจารย์ หมายความว่าบุคลาการซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้นการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ความหมายตามพระราชบัญญัตินั้น คณาจารย์ก็คือผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งสามารถสอนและทำการวิจัยในศาสตร์สาขานั้นๆ คณาจารย์เป็นคำรวมของตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาอันถือว่าเป็นสากล
คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับครูหรือศัพท์กลุ่มเดียวกันกับครูนั้นมีหลายคำ เช่น อุปัชฌาย์ แปลว่า ผู้สอนอาชีพ ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายไว้ว่า เป็นผู้ที่ศิษย์ต้องคอยเพ่งตามอง หรือคอยมองตามท่านสอน มองตามที่ท่านทำให้ดู เป็นผู้สั่งสอนศิลปะศาสตร์ในทางอาชีพต่างๆ นั่นเอง
คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่าครูอีกคำ คือคำว่า ทิศาปาโมกข์ แต่ปัจจุบันเลือนหายไปจากสังคมไทยมากแล้วในสมัยโบราณผู้ที่มีอันจะกินนิยมส่งลูกหลานไปยังสำนัก ทิศาปาโมกข์ เพื่อให้เรียนวิชาที่เป็นอาชีพ หรือวิชาสำหรับกลับมาประกอบหน้าที่การงานที่สำคัญๆเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ทิศาปาโมกข์โดยทั่วไปรับลูกศิษย์จากทุกทิศ และจะกำหนดว่าทิศนั้นสอนวิชานี้ ทิศนี้เรียนวิชานี้ ผู้ที่ไปเรียนก็ไปหาความรู้ตรงตามที่ต้องการตามความนิยมในสมัยนั้น คล้ายกับสมัยนี้พอดีพอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็จากบ้านเกิดไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่นั่นเอง สำหรับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับคำว่าครูหรือ Teachers ก็มีหลายคำเช่นกัน (Macquarie Thesaurus, 1992 : 400-400.1) คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คุ้นเคยและควรทำความเข้าใจโดยใช้คำอธิบายจาก Collins cobuild Dictionary English Language มีดังนี้
Teacher หมายถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำในโรงเรียนหรือสาบันการศึกษาต่างๆ ตรงกับคำว่าครูหรือผู้สอน
Instructor หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ตรงกับคำว่า อาจารย์
Professor ในประเทศอังกฤษ หมายถึงตำแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นตำแหน่งที่ใช้เป็นคำหน้านาม สำหรับผู้สอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรงกับคำว่า Assistant Professor
Lecturer หมายถึง บุคคลที่สอนในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยตรงกับคำว่า ผู้บรรยายหรือองค์ปาฐก
Tutor หมายถึง ผู้สอนซึ่งเป็นสมาชิกในคณะที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือสอนเป็นรายบุคคล โดยทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยายนั่นเอง อาจมีความหมายคล้ายผู้สอนเสริมหรือผู้สอนกวดวิชาSophist เป็นภาษากรกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ ผู้สั่งสอนสรรพวิทยาลัยต่างๆ น่าจะแปลว่าทิศาปาโมกข์นอกจากคำดังกล่าวแล้วยังมีศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับครูอีกหลายคำได้แก่ Principal แปลว่า ครูใหญ่ Schoolmaster and Schoolmistress แปลว่าครูผ้ชายและครูผู้หญิง Mentor แปลว่า อาจารย์ผู้ควบคุม Pedagogue แปลว่า ผู้มีภูมิครู
แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/krutubtib/khru/khwam-hmay-khxng-kha-wa-khru
ครูกับความเป็นครู
ครู: มุ่ง หารายได้
ความเป็นครู: มุ่งให้เด็กได้ดี ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
แหล่งที่มา:สมุดจดหนูเองค่ะ
ความสำคัญของครู
"ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน"
ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือ ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย
ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ นอกจากครูจะต้องรักบทบาทเป็นผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ แล้ว ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก เช่นการพัฒนาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้น ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเป็นบทบาทในการสร้างสังคมในด้านต่างๆให้มีความเจริญก้าวหน้า จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ให้สมญานามแก่ครูว่าเป็น วิศวกรสังคม ซึ่งหมายถึง ช่างผู้ชำนาญในการสร้างสังคมนั่นคือ หากครูให้การศึกษาแก่สมาชิกแก่สังคมอย่างไร สังคมก็จะเป็นอย่างนั้น เช่น ให้การศึกษาเรื่องระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง สังคมก็จะเป็นประชาธิปไตย หากครูให้การศึกษาในระบอบอื่นสังคมก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย
บทบาทและหน้าที่ของครู
บทบาทและหน้าที่ของครู คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษา หน้าที่และการงาน ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
บทบาทหน้าที่ของครูที่ควรปฏิบัติ
๑. ครูควรเป็นแม่พิมพ์ที่มีความรู้ความประพฤติที่ดี
๒. ครูเป็นผู้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมให้แก่เยาวชน
๓. ครูเป็นผู้นำทางศาสนาและวัฒนธรรม
๔. ครูมีบทบาทในการเป็นผู้พัฒนาเยาวชน เช่น ให้ความรู้ความสามารถในการทำงาน สอนให้เยาวชนมีความสำนึกที่ดี รู้ว่าอะไรถูก อะไรควรทำไม่ควรทำ
๕. บทบาทในการเป็นผู้นำทางศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยม
๖. บทบาทในการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม เช่น ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนาที่ตนนับถือ
๗. บทบาทในการพัฒนาสังคม
๘. บาทในการพัฒนาการเมืองการปกครอง
๙. บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
๒. ครูเป็นผู้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมให้แก่เยาวชน
๓. ครูเป็นผู้นำทางศาสนาและวัฒนธรรม
๔. ครูมีบทบาทในการเป็นผู้พัฒนาเยาวชน เช่น ให้ความรู้ความสามารถในการทำงาน สอนให้เยาวชนมีความสำนึกที่ดี รู้ว่าอะไรถูก อะไรควรทำไม่ควรทำ
๕. บทบาทในการเป็นผู้นำทางศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยม
๖. บทบาทในการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม เช่น ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนาที่ตนนับถือ
๗. บทบาทในการพัฒนาสังคม
๘. บาทในการพัฒนาการเมืองการปกครอง
๙. บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
บทบาทและหน้าที่ของครู จึงเป็นบทบาทที่มีความสำคัญต่อเยาวชนและต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการทำหน้าที่ของครูนั้น ช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาออกมาแล้วให้เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
แหล่งที่มา:
https://www.facebook.com/permalink.php?id=715259245172436&story_fbid=715495095148851
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น