การสร้างศักยภาพครู
ความหมายของศักยภาพ
หมายถึง ความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของบุคคลนั้นถ้าหากบุคคลนั้นได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างเต็มที่และถูกทางทั้งทางกายและทางจิตดังนั้น ความสามารถที่เรามีอยู่ในขณะนี้จึงยังไม่ใช่ศักยภาพของเรา เราจึงต้อง "พัฒนาความสามารถ" หรือ "พัฒนาสมรรถนะ" เพื่อที่จะเข้าไปใกล้ศักยภาพของเรา ไม่ใช่ "พัฒนาศักยภาพ" เพราะแม้แต่ในคนที่เก่งมาก ๆ เราก็ยังไม่ทราบว่าเขาไปได้ถึงครึ่งศักยภาพของตัวเขาเองแล้วหรือยัง เนื่องจากยังไม่มีใครสร้างเครื่องมือวัดศักยภาพ (ความสามารถสูงสุดที่ยังไม่เกิดขึ้น) ของมนุษย์ได้ แค่วัดความสามารถที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ก็ยังไม่ทราบว่าผลที่วัดได้นั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ เรื่องที่จะไปขยายหรือพัฒนาศักยภาพจึงยังไม่ต้องพูดถึงดังนั้น จึงควรใช้คำว่า "พัฒนาความสามารถ" หรือ "พัฒนาสมรรถภาพ" หรือ "พัฒนาสมรรถนะ" ให้เต็มศักยภาพ
ความหมายของสมรรถภาพ
ความสามารถของบุคคลในการควบคุมและสั่งการให้ร่างกายปฏิบัติภารกิจต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับปริมาณงานและเวลา โดยการปฏิบัติภารกิจนั้น
ไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถประกอบกิจกรรมอื่นๆ
นอกเหนือจากภารกิจประจำวันได้อีก ด้วยความกระฉับกระเฉง
ปราศจากอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลีย
ที่มา:www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id
คุณภาพของครูไทย
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลก
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ประเทศต่างๆ
ต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันสูงและต้องเร่งพัฒนาคนของตนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเพื่อให้สามารถรับมือกับสิ่งท้าทายดังกล่าวได้
ดังจะเห็นได้จากการที่ที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม
2548 ได้ออกถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ถึงความจำเป็นของอาเซียนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาค และสร้างอาเซียนให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง
เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างเท่าเทียม (ASEAN. 2005.
online)
ด้วยเหตุนี้นานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยจึงต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการหล่อหลอมเยาชนให้เติบโตขึ้นเป็นแรงงานที่มีศักยภาพ
ทั้งนี้ปัจจัยหลักประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาคือการพัฒนาคุณภาพครูซึ่งเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปข้างต้นประสบความสำเร็จ
( Reimers, 2003:12) โดย ดร.รุ่ง แก้วแดง
มีความเห็นสอดคล้องกันว่าถ้าครูมีความรู้ ความสามารถ เสียสละ และตั้งใจสอนสั่งผู้เรียนอย่างเต็มความสามารถ
จะช่วยเสริมสร้างให้เด็กไทยเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองดี เก่ง ฉลาด มีศักยภาพ
มีความสุขและสามารถแข่งขันกับทุกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รุ่ง แก้วแดง. 2544: 134)
อย่างไรก็ตาม
หากเปรียบเทียบกับนานาประเทศแล้วจะพบว่าการจัดการศึกษาของไทยใช้งบประมาณสูงกว่ามากแต่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับกลับด้อยกว่าทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของ
IMD (International Institute for Management Development) ได้จัดให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพอยู่ในลำดับที่
46 จาก 60 ประเทศ (โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. 2550:7) รวมถึงการจัดดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประจำปี 2549 ไทยอยู่ในลำดับที่
74 จากทั้งหมด 109 ประเทศ (สำนักงานดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา. 2550: ออนไลน์) และที่สำคัญผลสรุปของการประเมินคุณภาพสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(รอบแรก พ.ศ. 2544-2548) จำนวน 30,010 แห่ง ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) พบว่ามีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพียงร้อยละ 34 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ
สมศ. โดยพบว่านักเรียนไทยยังขาดความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษา
รวมถึงขาดทักษะในการทำงานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริต
(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. 2549: ออนไลน์)
ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งน่าวิตกกังวลเกี่ยวกับศักยภาพของภาคแรงงานไทย
ในอนาคต
ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าปัญหาคุณภาพของการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของครูเป็นสำคัญเพราะครูเป็นผู้นำแนวคิดหรือนโยบายทางการศึกษาไปสู่ระดับปฏิบัติในห้องเรียน (ชมพูนุท ร่วมชาติ. 2548: 1) ซึ่งหากพิจารณาในภาพรวมจะพบว่าปัจจุบันครูไทยมีปัญหาหลักในสามด้านคือเรื่องคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน การมีหนี้สินล้นพ้นตัว รวมถึงภาวะการขาดแคลนครูสะสมโดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญ
(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2545::53) โดยมีสรุปสาระสำคัญของประเด็นปัญหา
และแนวทางการแก้ไขของภาครัฐ ดังนี้
1) ปัญหาด้านคุณภาพของครู
ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการประสบความสำเร็จอย่างสูงในการนำคนเก่ง คนดี
มีความรู้เข้าสู่วิชาชีพครู โดยได้คัดเลือกจากนักเรียนที่เก่งที่สุดของแต่ละจังหวัดให้เข้ารับทุนเพื่อเรียนต่อด้านการฝึกหัดครู
ดังนั้นครูในยุคนั้นจึงเป็นคนเก่งของประเทศ และมักประสบความสำเร็จทั้งในด้านการพัฒนานักเรียนและชีวิตส่วนตัว
ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีความต้องการครูสูงขึ้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเร่งผลิตครูมากขึ้นเป็นเงาตามตัวโดยปราศจากการวางแผนที่เหมาะสม สถาบันฝึกหัดครูทุกแห่งต่างเปิดสอนในภาคพิเศษและภาคสมทบอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุนี้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาครูจึงมีจำนวนมากเกินความต้องการของตลาดแรงงานส่งผลให้ตกงานในที่สุด (รุ่ง แก้วแดง. 2544.:131) นอกจากนี้ครูดังกล่าวยังมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
โดยผลจากการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาของ สมศ. ยังพบว่ามีครูถึงร้อยละ 66
ไม่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท (สมศ. 2549:
ออนไลน์)
ดร.เลขา ปิยะอัจริยะ
ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาครูไม่มีคุณภาพว่ามิได้เกิดจากระบบไม่ดี
หากเกิดจากการที่ครูขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง
รวมถึงยังขาดการจัดการความรู้ที่ดีและมิได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน
โดยความรู้ในหลักสูตรและในหนังสือที่ประมวลมาสอนเด็กคิดเป็นเพียงร้อยละ 20
ของความรู้ทั้งหมด แต่ความรู้ส่วนใหญ่หรืออีกร้อยละ 80
กลับถูกละเลยได้แก่ความรู้ของครูที่เกษียณอายุไปเพราะที่จริงแล้วครูเหล่านี้มีความรู้และมีประสบการณ์ที่ฝังลึก กระทรวงศึกษาธิการจึงควรนำครูดังกล่าวมาถอดแบบความรู้เพื่อที่คนทั้งสองรุ่นได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จร่วมกันและนำไปต่อยอดเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มแก่เยาชนในอนาคต
(เลขา ปิยะอัจฉริยะ. 2550: ออนไลน์)
สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพของครูในปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการดังนี้
1.1การปฏิรูปการผลิตครูและสถาบันผลิตครู โดยกำหนดนโยบายการผลิตครูให้ชัดเจนด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา (2547-2556) และการผลิตครูแนวใหม่หลักสูตร 5 ปี
ใน 8 สาขา โดยนักเรียนที่เข้าศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ย 2.75 และผลการเรียนในวิชาเอก
3.00 ขึ้นไป ซึ่งเป็นการคัดสรรตัวป้อนที่ดีเข้าสู่กระบวนการผลิตครู โดยเริ่มรุ่นแรกในปี
2547
ส่วนการปฏิรูปสถาบันผลิตครูตามโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
รัฐบาลได้อนุมัติเงินจำนวน 179.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏใน รูปของทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความเป็นเลิศทางครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์
และการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานและประกันคุณภาพสถาบันฝึกหัดครู
1.2การพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
โดยจัดตั้ง
สถาบันพัฒนาและส่งเสริมครู
คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาครู ฯ รวมถึงการยกย่องครู ฯ ที่มีผลงานดีเด่น
1.3 การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และการควบคุมการประกอบวิชาชีพ
ได้แก่การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพครูคือคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในพ.ศ.2546 นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูที่มี 3
องค์ประกอบคือมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน
และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
รวมถึงได้ส่งเสริม และยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพครู
และการควบคุมการประกอบวิชาชีพครู (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550: 3-61 - 3-90)
2) ปัญหาหนี้สินครู
ปัจจุบันมีครูมากกว่า 130,000 คน อยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยเฉลี่ยมีหนี้คนละ
1.1 ล้านบาท นับเป็นเหตุให้ครูขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตลดลง และต้องทำงานเพื่อหารายได้เสริม
ครูจึงอุทิศตนต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ไม่เต็มที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนของผู้เรียนลดลง
(วรากรณ์ สามโกเศศ . 2550: ออนไลน์) ทั้งนี้จากการเปิดเผยของโครงการติดตามสภาวะการณ์ครูรายจังหวัด
(Teacher Watch) พบว่า 5
จังหวัดแรกที่มีครูเป็นหนี้นอกระบบมากที่สุดคือมหาสารคาม
มีครูเป็นหนี้นอกระบบถึงร้อยละ 60
มุกดาหารร้อยละ 58 สตูลร้อยละ
57.14 ยโสธรร้อยละ 53.93
และร้อยเอ็ดร้อยละ 53.10 (อมรวิชช์ นาครทรรพ. 2550: ออนไลน์)
สำหรับแนวทางในการเยียวยาเรื่องหนี้สินครู กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับธนาคาร
ออมสินอนุมัติเงินกู้จำนวนทั้งหมด
8 พันล้านบาทเพื่อดูแลครูที่มีปัญหาวิกฤติจริงๆ และได้กำหนด แนวทางการแก้ปัญหาเพิ่มเติมดังนี้
การเปิดคลีนิคทางการเงินเพื่อให้คำแนะนำเรื่องการออมเงินและการปรับสภาพหนี้ เปิดศูนย์ฮอตไลน์
1579 เพื่อให้บริการคำแนะนำเรื่องปัญหาหนี้สินของครู
จัดโครงการสัมมนาแก่ครูทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้
และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับคำถาม-ตอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (วรากรณ์ สามโกเศศ. 2550: ออนไลน์)
3. ปัญหาการขาดแคลนครูสะสม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้สำรวจภาวะการขาดแคลนครูในสังกัดตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกค) เมื่อต้นปี 2550
พบว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศยังขาดแคลนครูประมาณ 70,000 คน (สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี.
2550: ออนไลน์)
ทั้งนี้มีสาเหตุจากหลายประการอาทิการผลิตและบรรจุครูไม่สัมพันธ์กัน (กล่าวคือขาดครูในสาขาที่สำคัญได้แก่วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ แต่ในสาขาอื่นมีบัณฑิตครูเกินความต้องการ) นโยบายของรัฐในการจำกัดกำลังคนภาครัฐและการคืนอัตรากำลังทดแทนขาดดุลยภาพ การจัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
การกำหนดเกณฑ์การคืนอัตรากำลังของสำนักงานข้าราชการครู ฯ
กับคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและกำลังคนภาครัฐไม่ตรงกัน
รวมถึงนโยบายการเกลี่ยอัตรากำลังครูไม่ได้ผล ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวทำให้ครูที่เหลือต้องทำงานหนัก
มีเวลาในการเตรียมการสอนและถ่ายทอดความรู้ไม่เพียงพอ และบางครั้งถึงกับทำให้ครูไม่มีโอกาสเข้ารับการพัฒนาอย่างเต็มที่
ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำลง
อย่างเห็นได้ชัด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. .2548:31)
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูคือ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำโครงการครูสหกิจ
โดยให้นักศึกษาครูในหลักสูตร 5 ปี ไปฝึกสอนในโรงเรียนที่ขาดครูโดยมอบค่าเบี้ยเลี้ยงตอบแทน ทั้งนี้โครงการครูสหกิจมีระยะเวลา 3 ปี (ปี
2551-2553) และได้จัดเตรียมงบประมาณจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนแก่ศึกษานิเทศก์
นิสิตและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการซึ่งคาดว่ามีจำนวน 5,000 คน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ครูที่สอนไม่ตรงคุณวุฒิได้เข้ารับการอบรมด้านการศึกษาเพิ่มเติม
มีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่โดยพัฒนาการสอนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ขึ้น
พร้อมนำสื่อเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ (โดยจัดการอบรมครูก่อนดำเนินการ) เช่น e-learning และ multi media และกำหนดนโยบายรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน
120 คน เข้าด้วยกันพื่อให้มีครูครบ 8
สาระการเรียนรู้ รวมถึงประหยัดครูและงบประมาณด้วย (สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี.
2550: ออนไลน์)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจะพบว่าปัญหาที่สำคัญที่จำเป็นต้อง
ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือปัญหาเรื่องคุณภาพของครูผู้สอน
เนื่องจากส่งผลกระทบถึงนักเรียนโดยตร’ง ทั้งนี้จากการศึกษาของอเล็ตตา บัวแมน
ไนท์ (Knight, Arletta Buaman. 2006: online)
พบว่าครูที่มีความสามารถจะต้องมีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน
ความเอื้ออาทรต่อผู้เรียน และความกระตือรือล้นในการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความรู้ความสามารถ
|
ความเอื้อาทรต่อผู้เรียน
|
ความกระตือรือล้นในการปฏิบัติงาน
|
1.อธิบายเรื่อยากให้เข้าใจ
ได้ง่าย
|
1)ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอับอาย
ในห้องเรียน
|
1)กระตือรือล้นในการสอน
|
2.มีทักษะในการจัดชั้นเรียนที่ดี
|
2)รักษาคำพูด
|
2)เป็นคนน่าสนใจ
|
3)ตอบคำถามของนักเรียนได้ชัดเจน และมีข้อมูลอ้างอิง
|
3)ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่าง
เท่าเทียมกัน
|
3)สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ดี
|
4) ทำในสิ่งที่สอนได้
|
4)มีความยืดหยุ่น
|
4)ใช้วิธีการสอนอย่างหลากหลาย
|
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของ อเล็ตตา บัวแมน ไนท์ สอดคล้องกับผลการวิจัยของชมพูนุท
ร่วมชาติ (ชมพูนุม ร่วมชาติ. 2548: บทคัดย่อ)
ที่พบว่าลักษณะของครูที่พึงประสงค์ในอนาคตประกอบด้วยองค์ประกอบใน 4 ด้านคือ
1)ความรู้อย่างลึกซึ้งในสาขาที่สอนอย่างน้อย 2 วิชา และความรู้ในวิชาชีพครู 2)ทักษะเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา 3) คุณธรรม
จริยธรรม จรรยาบรรณและบุคลิกภาพของความเป็นครู 4) การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
ในขณะที่หลักสูตรวิชาชีพครูในอนาคตควรมีทางเลือกอย่างหลากหลาย โดยมีสาระดังนี้ 1)
การศึกษาและอัตลักษณ์ของครูไทย 2) ธรรมชาติของผู้เรียนและการเรียนรู้ 3)
หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4) นวัตรกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ความรู้ด้านการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School – based Research)
ในขณะที่ผลของการศึกษาวิจัยของสมชาย
บุญศิริเภสัช พบว่าพลังความสามารถในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์กับความมุ่งหวัง
ความรู้ ทักษะประสบการณ์
และอำนาจหน้าที่ของครู ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่าปัจจัยพื้นฐานของครู
ในขณะที่กระบวนการเสริมสร้างอำนาจ (ความสามารถ) ในการทำงานของครู
ประกอบด้วยการทำงานอย่างมีอิสระ การมีส่วนร่วมในการทำงาน
รวมถึงกระบวนการประเมินผลตัวเอง
และความพร้อมรับการตรวจสอบ ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มอำนาจในการทำงานของครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(สมชาย บุญศิริเภสัช. 2545:
บทคัดย่อ) ดังนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำผลจากการศึกษาวิจัยข้างต้นไปประกอบการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบแล้วจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของครูได้เป็นอย่างดี
และจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนในที่สุด
ปัญหาของครูผู้สอนนับเป็นประเด็นเร่งด่วนที่อยู่ในขั้นวิกฤติซึ่งภาครัฐและทุกภาคส่วนต้องประสานพลังในการแก้ไขและต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
รอบคอบ และต่อเนื่อง ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ มาตรการ
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดต้องพิจารณาในลักษณะองค์รวมตั้งแต่สถานภาพครู
ทิศทางการผลิตครูในอนาคต
รวมถึงการประกันคุณภาพของครูเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าครูจะมีศักยภาพเอย่างพียงพอในการขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปสู่เยาวชนของชาติตามเป้าหมายของรัฐบาลได้อย่างแท้จริง
ที่มา:https://mameawmewmew.wikispaces.com/.../ปัญหาครู-ปรับปรุง-8+ต
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
การส่งเสริมพัฒนาครูให้แสดงความสามารถสูงสุดอันเป็นคุณสมบัติที่แฝงอยู่ในตัวให้
ปรากฏออกมาเป็นที่ประจักษ์แก่นักเรียนและต่อสังคม
ความส าคัญของวิชาชีพครู
ครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอย
ดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์ ความ เจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์
กระท าความชั่วต่างๆอีกด้วย นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มี
ความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติ
อย่างยิ่งเพราะ ครูเป็นทั้งผู้สร้าง และผู้ก าหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติให้
พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง
ที่มา:http://www.kruinter.com/file/29420140904120822-[kruinter.com].pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น