บุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ผู้นำทางวิชาการ
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
- ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
- คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
- พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
- ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
- พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
- ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
- ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
- ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
- แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
- สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
- การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
- การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ความหมายของผู้นำ
เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ ( Leader ) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งขององค์กร เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผน สั่งการ ดูแลและควบคุมให้บุคลากรขององค์กรปฏิบัติงานต่างๆให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ McFarland กล่าวว่า ผู้นำ คือ บุคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่างๆที่ต้องการ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ( McFarland , 1979:214-215 ) ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ ( Huse , 1978:277 ) ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมาย บุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือ ผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆก็ตาม ( Yukl , 1989:3-4 ) ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้นำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/201434
ความหมายของวิชาการ
เรามักได้ยินคนพูดคำว่าวิชาการ เป็นเวลานานมากแล้ว
นอกจากนั้นยังมีความคิดขัดแย้งเกิดตามมาว่า เรื่องนี้เป็นวิชาการ
เรื่องนั้นไม่ใช่วิชาการ ฟังดูแล้วน่าจะนำมาคิดค้นหาความจริงให้รู้ว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไรกันแน่
ความจริงแล้ว
แต่ละคนก็เป็นคนเหมือนกัน
ทำไมถึงได้นำเอาเรื่องเดียวกันมาโต้แย้งระหว่างกันและกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น
ซึ่งไม่เพียงเสียเวลาเท่านั้น หากยังทำให้เกิดภาวะสับสนขึ้นในสังคมมากยิ่งขึ้น
จากเงื่อนไขดังกล่าว
ถ้าจะอ้างว่า คนเราไม่เหมือนกัน ย่อมคิดแตกต่างกันเป็นธรรมดา
ก็น่าจะรับฟังได้ แต่อีกด้านหนึ่ง
หากสามารถมองลึกลงไปให้ถึงความจริงซึ่งอยู่ในรากฐาน
ความขัดแย้งควรนำไปสู่จุดซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด
หรืออีกนัยหนึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจกันได้ไม่ยาก
สิ่งที่พบความจริงมาแล้วในอดีต
คนส่วนใหญ่มักสะท้อนความคิดออกมาปรากฏให้รู้สึกได้ชัดเจนว่า วิชาการเป็นบันไดที่จะทำให้คนก้าวขึ้นไปสู่ที่สูง
นอกจากนั้นส่วนใหญ่มักสะท้อนผลกลับลงมาทับถม ทำให้คนระดับล่างได้รับการดูถูกดูแคลน
ส่วนผู้ที่ยืนอยู่ระดับล่างย่อมมี 2 ด้านเช่นกัน ด้านหนึ่งแม้ถูกดูถูกแต่ก็ไม่สนใจ
หากกลับทำให้เกิดความรู้สึกรักศักดิ์ศรีความเป็นคนลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งคนลักษณะนี้
มีรากฐานความเป็นตัวของตัวเองที่เข้มแข็งมาก
จึงรู้สึกว่ากระแสการดูถูกดูแคลนจากผู้อื่นมีผลส่งเสริมให้ตนหยั่งรู้คุณค่าความเป็นคนลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ส่วนอีกด้านหนึ่ง ผู้ซึ่งได้รับการดูถูกดูแคลน
มีผลทำให้เกิดปมด้อย จึงคิดตะเกียกตะกายขึ้นไปสู่ด้านบน
เพื่อให้ตนได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ซึ่งทิศทางที่มุ่งไปสู่ด้านนี้
ย่อมทำให้แต่ละคนมีนิสัยทับถมหรือเบ่งใส่คนอื่นเพิ่มมากขึ้น
หากตั้งคำถามๆ
ใจตัวเองว่า เราแต่ละคนคิดจะมุ่งวิถีชีวิตเดินไปสู่ทิศทางไหน เพื่อให้ตนมีความสุข
และได้รับการยอมรับจากสังคมร่วมด้วย
ช่วงหลังๆ
ดูจะได้ยินผู้กล่าวถึงนักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การกล่าวจากความรู้สึกนิยมชมชื่น แต่ผลการปฏิบัติเท่าที่ปรากฏ
กลับทำให้สังคมทรุดตัวหนักมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้และทั้งนั้น ในเมื่อความจริงย่อมมีสองด้าน
ดังนั้นนอกจากด้านหนึ่งจะรู้สึกนิยมชมชื่น
แต่อีกด้านหนึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ไปในทางดูถูกกว้างขวางมากขึ้นด้วยเช่นกัน
มาถึงจุดนี้
หากรู้จักเฉลียวใจ น่าจะนำมาค้นหาเหตุผลว่า วิชาการคืออะไรอีกทั้งมีผลสร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคมได้อย่างไร
หลายคนมักมุ่งมองไปยังศาสตร์สาขาต่างๆ โดยที่เข้าใจว่าคือวิชาการ
จนกระทั่งเกิดปัญหาตามมาว่า คนนั้นเป็นนักวิชาการสาขานั้น
คนนี้เป็นนักวิชาการสาขานี้
โดยที่ไม่อาจหวนกลับมาค้นหาความจริงซึ่งเป็นศูนย์รวมให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้
หากมองภาพรวมของชีวิตคนให้ถึงความจริง
อีกทั้งรู้ว่ามีรากฐานอยู่ที่ไหน แต่ละคนคงไม่ตกเป็นเหยื่อให้คนอื่นหลอกล่อ
โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งหวังใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อประโยชน์แห่งตน
ซึ่งกรณีดังกล่าวเราพบกันมาแล้วอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งเกิดเป็นปัญหาแฝงอยู่ในรากฐานคน หนักมากยิ่งขึ้น
หากหวนกลับมาพิจารณาค้นหาความจริง ควรจะพบได้ว่าศาสตร์สาขาต่างๆ
เป็นสิ่งถูกกำหนดโดยคน เพื่อหวังใช้เป็นเครื่องมือแสวงประโยชน์ให้กับคนในการดำเนินชีวิต
หากแต่ละคนมีความฉลาดและเฉลียวร่วมด้วย ช่วยให้สามารถรู้เท่าทันผู้อื่น
ควรจะรู้ความจริงได้ว่า ศาสตร์ทุกแขนงมีศูนย์รวมซึ่งเป็นความจริงอยู่ในใจมนุษย์แต่ละคน
ดังนั้น
ถ้าพื้นฐานการดำเนินชีวิตมนุษย์ มีความมั่นคงอยู่กับการรู้ความจริงจากใจตนเอง
และมุ่งเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ จากโลกภายนอก ในที่สุดย่อมรู้ได้เองว่า วิชาการทุกสาขาน่าจะหมายถึงความจริงซึ่งอยู่ในรากฐานจิตใจเราแต่ละคน
หากรู้ได้แล้ว
แม้จะนำออกมาใช้ประโยชน์ในงานสาขาใดก็ตาม
ย่อมได้รับผลสนองตอบอันจะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจศาสตร์ทุกสาขา
ซึ่งมีเหตุมีผลสานถึงจิตใจมนุษย์ทุกคน แม้ว่าต่างก็อยู่บนพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน
ดังนั้น
ผลจากการจัดการศึกษาที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการของกลุ่มคนผู้มีหน้าที่ในการจัดการเท่าที่รับกันมาแล้วเป็นช่วงๆ ส่วนใหญ่มักปรากฏออกมาในลักษณะซึ่งอาจกล่าวว่า ยิ่งเรียนสูงขึ้นก็ยิ่งห่างจากการรู้ตนเองมากขึ้น
สิ่งที่ชนรุ่นก่อนเคยปรารภฝากไว้ว่า ยิ่งเรียนสูง
ขาก็ยิ่งพ้นพื้นดินมากขึ้น จึงน่าจะมีความจริงซึ่งแต่ละคนควรยอมรับ
ดังจะพบความจริงได้จากผลการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งคนยุคก่อน หลังจากชีวิตผ่านระบบการจัดการศึกษาออกมาใหม่ๆ
แต่ละคนพึงต้องทำงานเก็บเล็กผสมน้อย กว่าจะมีฐานะเติบโตยิ่งขึ้น
จำเป็นต้องต่อสู้กับสภาพชีวิตตัวเอง จากผลการเผชิญกับปัญหาต่างๆ
ที่ช่วยสอนให้ตนรู้คุณค่าชีวิต ร่วมกับสรรพสิ่งต่างๆ ซึ่งตนได้รับมาภายหลัง
แม้ในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งยังใช้รถจักรยานเป็นพาหนะในชีวิตประจำวัน
มาถึงช่วงนี้มีรถยนต์ราคาแพงๆ เต็มไปหมด
ความหวังในการพัฒนาสังคมและสภาพแวดล้อมซึ่งควรมีผลสนองความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจ
จึงอยู่ที่จิตวิญญาณคนท้องถิ่น ซึ่งมีรากฐานความรักพื้นดินอย่างลึกซึ้ง
การเปลี่ยนแปลงร่วมกันระหว่างคนกับคน
และระหว่างคนกับสรรพสิ่งอื่นๆ เท่าที่ผ่านพ้นมาแล้ว
แทนที่จะมีผลนำไปสู่เป้าหมายตามความปรารถนา
กลับเปลี่ยนทิศทางหวนกลับมาสู่การสั่งสมปัญหาเพิ่มมากขึ้น
ตามที่เขียนไว้ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายพัฒนาคนให้เป็นคนผู้มีคุณสมบัติความเป็นมนุษย์อย่างครบถ้วน
แต่ผลที่ปรากฏเป็นความจริงอยู่ในขณะนี้
ส่วนใหญ่ผู้ซึ่งชีวิตผ่านระบบการจัดการศึกษาไปแล้ว
หากนำมาพิจารณาย่อมพบได้ว่าส่วนใหญ่ กลับมุ่งทิศทางสู่ด้านตรงข้าม
ดังเช่นที่คนยุคก่อนปรารภว่า ปากว่าตาขยิบ ซึ่งหมายความว่า
ปากอย่างหนึ่งใจอีกอย่างหนึ่ง
สอดคล้องกันกับคำปรารภจากใจคนจำนวนไม่น้อยที่กล่าวว่า
คนยุคปัจจุบันขาดความจริงใจต่อกันมากขึ้น
ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นเพราะรากฐานจิตใจมุ่งความสำคัญไปยังผลประโยชน์ส่วนตน
เหนือกว่าให้ความสำคัญแก่เพื่อนมนุษย์
ช่วงหลังๆ
ผู้เขียนรับฟังคำพูดจากชนรุ่นหลังหลายคนซึ่งมักกล่าวว่า
ตนเรียนมาจากสถาบันการศึกษาแล้วออกมาทำงานไม่ตรงสาขาวิชา
หลังจากฟังแล้ว จึงตอบกลับไปว่า ทำไมจะไม่ตรง
ทำงานอะไรก็ตรงได้ทั้งนั้น ขอให้เกิดจากจิตใจที่เปิดกว้าง
ผลการปฏิบัติย่อมให้โอกาสแก่รากฐานตนเองในการหยั่งลงลึกซึ้งยิ่งขึ้น
จนกระทั่งถึงจุดอันควรรู้ว่า แท้จริงแล้ววิชาการทุกสาขามีศูนย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกันหมด
นอกจากนั้นควรจะรู้ต่อไปอีกว่า
ศูนย์รวมใจของแต่ละคนย่อมมีเหตุผลเชื่อมโยงถึงพื้นดินจากความรู้สึกรักและผูกพันอย่างลึกซึ้ง
หลังจากอธิบายมาถึงจุดนี้
หากใครเข้าใจถึงย่อมสรุปคำตอบของคำว่าวิชาการได้อย่างชัดเจนว่า
แท้จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีเหตุผลสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันของแต่ละคนคือความหมายของวิชาการทั้งสิ้น
ที่มา:www.openbase.in.th/files/%20_2.doc
แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ความหมายของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ |
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ 5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์ |
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ที่มา:http://www.nmk.ac.th/maliwan2/page/4_2librarysource.html |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น